ปิดโมดูลที่ไม่ใช้งานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์

โดยดีฟอลต์คอนฟิกของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งมากับลีนุกซ์เวอร์ชั่นต่างๆ จะเปิด (enable) การใช้งานโมดูลต่างๆ ทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อสะดวกและง่ายต่อการเริ่มต้นใช้งาน

แต่การใช้งานจริงๆ ในระบบ production แนะนำให้ปิด (disable) คอนฟิกของโมดูลที่ไม่ได้ใช้งาน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางด้านความปลอดภัย (security) และประหยัดหน่วยความจำ Memory ที่ต้องถูกใช้งานโดยเปล่าประโยชน์ด้วย (แนะนำให้ใช้คำสั่ง ps เปรียบเทียบขนาด memory ที่ใช้ก่อนและหลังการปิดโมดูล)

บทความนี้ได้รวบรวมจัดกลุ่มโมดูลตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งถ้าคุณไม่ได้ใช้คุณสมบัติในโมดูลนั้นๆ สามารถที่จะปิดได้ ด้วยการใส่เครื่องหมาย # หน้าบรรทัดของ LoadModule โดยคอนฟิกทั้งหมดจะเป็นตัวอย่างที่ทำบน Fedora 9 และหลังจากการแก้ไขทั้งหมดเพื่อปิดโมดูลทั้งหมดนี้แล้ว เว็บยังสามารถรัน PHP ได้ตามปกติ

Continue reading “ปิดโมดูลที่ไม่ใช้งานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์”

ปรับแต่งคอนฟิกพื้นฐานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์

บทความนี้ขอแนะนำการปรับแต่งคอนฟิกพื้นฐานของ Apache ซึ่งติดตั้งมากับ Fedora 9 ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการปิดคุณสมบัติที่ไม่ได้ใช้งานออกไป เพื่อประหยัดขนาด CPU, Memory ที่ต้องใช้ในการรันโปรแกรม

การแก้ไขทั้งหมดในบทความนี้เป็นการแก้ไขคอนฟิกในไฟล์ /etc/httpd/conf/httpd.conf ซึ่งจะเป็นไฟล์คอนฟิกหลักของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์

Continue reading “ปรับแต่งคอนฟิกพื้นฐานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์”

ตรวจสอบเวอร์ชั่นของเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยคำสั่ง telnet

เราสามารถใช้คำสั่ง telnet ตรวจสอบเวอร์ชั่นของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่รันอยู่บนเครื่องอื่นได้  ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งของ HTTP Header ที่ส่งจากเซิร์ฟเวอร์กลับไปยังไคลเอนต์

วิธีการคือใช้คำสั่ง telnet ตามด้วยชื่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการตรวจสอบ ลงท้ายด้วยตัวเลข 80 ซึ่งเป็นพอร์ตที่รันโดยดีฟอลต์เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์

Continue reading “ตรวจสอบเวอร์ชั่นของเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยคำสั่ง telnet”

คอนฟิก Ethernet Bonding บน Fedora Linux

พอร์ตแลน (Ethernet) ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นส่วนที่จะรับส่งข้อมูลกับเคื่องอื่นๆ ถ้าเซิร์ฟเวอร์มีแค่พอร์ตเดียวเชื่อมต่อเข้าเน็ตเวิร์ก แล้วสายที่เชื่อมต่อหลุดไป หรือไม่สามารถรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลได้เพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาการใช้งานได้

ในบทความนี้ขอแนะนำการคอนฟิก Ethernet Bonding (หรือ Teaming) เพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยจะมีการจัดกลุ่มพอร์ตแลนเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยในการรับส่งข้อมูล รูปแบบการส่งจะมีสองแบบใหญ่ๆ คือ

Continue reading “คอนฟิก Ethernet Bonding บน Fedora Linux”

ติดตั้ง VMware Tools บน Fedora 9 – Guest OS

หลังจากแนะนำบทความ ติดตั้ง VMware Server บน Fedora 9 ไปแล้ว ซึ่งเป็นการติดตั้ง VMware Server โดยใช้ Host OS เป็นลีนุกซ์ Fedora 9

ในบทความนี้จะเพิ่มเติมวิธีการติดตั้ง VMware Tools ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ติดตั้งบน Guest OS ที่ลงลีนุกซ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลีนุกซ์บน Guest OS ให้ดียิ่งขึ้น โดยตัวอย่างจะเป็นการติดตั้ง VMware Tools เวอร์ชั่น 1.0.7 บน Fedora 9

Continue reading “ติดตั้ง VMware Tools บน Fedora 9 – Guest OS”

ตรวจสอบสถานะของการ์ดเน็ตเวิร์กบนลีนุกซ์

บทความนี้ขอแนะนำการใช้คำสั่ง ethtool บนลีนุกซ์เพื่อตรวจสอบสถานะของการ์ดเน็ตเวิร์กว่าเป็นอย่างไร เช่น สถานะของลิ้งก์ที่เชื่อมต่ออยู่ว่า Up หรือ Down ความเร็ว (speed) ของการเชื่อมต่อเท่าไร

Continue reading “ตรวจสอบสถานะของการ์ดเน็ตเวิร์กบนลีนุกซ์”

คอมไพล์ Linux kernel บน Fedora 9 ในรูปแบบ RPMS

โดยทั่วไป kernel ที่ติดตั้งมากับลินุกซ์เวอร์ชั่น (distribution) ต่างๆ รวมทั้ง Fedora ด้วย จะสามารถใช้งานได้เลย รองรับอุปกรณ์ hardware ได้ส่วนใหญ่หลากหลายชนิด ไม่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมแต่อย่างใด

แต่ในบางครั้งถ้ามีอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่ kernel ไม่รู้จัก หรือต้องการจะปรับแต่ง kernel ให้เรียกใช้งานเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ที่เราใช้อยู่จริงๆ ทั้งนี้เพื่อประหยัด CPU/Memory ที่ถูกใช้โดยเปล่าประโยชน์ รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวลินุกซ์เองด้วย

ในบทความนี้จึงขอแนะนำวิธีปรับแต่ง kernel และคอมไพล์ใหม่ โดยจะทดสอบบน Fedora 9

Continue reading “คอมไพล์ Linux kernel บน Fedora 9 ในรูปแบบ RPMS”

วิธีการคอมไพล์ไฟล์ src.rpm ด้วยผู้ใช้งานธรรมดา

การติดตั้งโปรแกรมบนลินุกซ์วิธีการหนึ่งที่นิยมกันคือใช้ไฟล์ประเภท rpm ซึ่งไฟล์ที่ติดตั้งนั้นจะถูกคอมไพล์เป็น binary โดยทีมงานที่พัฒนา Linux Distribution ซึ่งเป็นไฟล์จะติดตั้งได้สะดวกพร้อมใช้งาน ด้วยคำสั่ง rpm หรือ yum

ไฟล์ binary เหล่านี้ชื่อไฟล์จะมีการเพิ่มเติมประเภทของเครื่องที่โปรแกรมนี้สามารถติดตั้งใช้งานได้เช่น i386, i586, i686, x86_64 เป็นต้น

แต่ในบางครั้งเราจำเป็นต้องมีการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ เพื่อปรับปรุงเรื่องเวอร์ชั่น ตัดหรือเพิ่มคุณสมบัติของโปรแกรมบางอย่างซึ่งไฟล์เหล่านี้อาจจะไม่มีในรูปแบบ binary

Continue reading “วิธีการคอมไพล์ไฟล์ src.rpm ด้วยผู้ใช้งานธรรมดา”

การแก้ไขเมื่อลืม root password ในลินุกซ์

รหัสผ่านของ root หรือ root password เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในลินุกซ์ เพราะการแก้ไขทุกอย่างในลินุกซ์ต้องเข้าเป็น root ก่อนถึงจะทำได้ การลืมรหัสผ่านจึงทำให้เราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลยในลินุกซ์

บทความนี้แนะนำวิธีหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาเมื่อลืมรหัสผ่านของ root ได้ แต่ต้องมีการรีบู๊ตเครื่อง ซึ่งทำให้เวลาแก้ไขระบบไม่สามารถใช้งานได้ โดยตัวอย่างในบทความนี้จะทดสอบบน Fedora 9

Continue reading “การแก้ไขเมื่อลืม root password ในลินุกซ์”